การอธิบายและการใช้คำศัพท์ในบทความนี้ เป็นไปพื่อเหตุผลในการอธิบายให้ผู้อ่านเข้าใจหลักการของระบบControlได้ง่ายขึ้น ดังนั้นหลังจากผู้อ่านเข้าใจหลักการการทำงานของระบบ control โดยพื้นฐานในบทความนี้แล้ว ผู้อ่านควรศึกษาเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจถึงรายละเอียดทางวิชาการที่ถูกต้องแม่นยำจากตำราเรื่อง Process Control ที่เชื่อถือได้อีกครั้ง เพื่อความเป็นสากลในการสื่อสารกับวิศวกรและผู้ร่วมงานคนอื่นในการทำงานต่อไป
จากตอนที่แล้วที่ได้มีการกล่าวเกี่ยวกับเรื่อง PID Control Basic ไป
ในหน้านี้เราจะมาต่อยอด ทำความเข้าใจเพิ่มเติมว่า PID Control อยู่ตรงส่วนไหน ทำหน้าที่ตรงไหนของระบบProcess Controlโดยภาพรวมนั่นเอง
โดยจะชี้แจงในลักษณะ ของชนิดของ Process Control ด้านล่าง
Feedback Control
(Closed Loop Control)
พิจารณาจากการดู Diagram ด้านบน
Process output
คือ ผลที่ออกมาจาก Process ที่ปลายทาง = PV ( Process Value)
Process input
คือ สิ่งที่ใส่เข้าไปใน Process ที่ต้นทาง = MV (Manipulate Value)
Set Point (SP)
คือ ค่าตั้งขึ้น ค่าที่ป้อนเข้าไปในระบบโดยป้อนผ่าน Controller เราต้องการให้ PV เข้าใกล้ค่านี้มากที่สุด
Error
คือค่า ความต่างระหว่าง PV กับ SP
Feedback control เป็นลักษณะการควบคุมแบบ closed loop control อุปกรณ์สำคัญของระบบควบคุม แบบ Feedback control ก็คือ controller ซึ่งจะใช้สัญญาณ error ในการนำมาพิจาณาตัดสินใจปรับค่า Process input ( MVในครั้งถัดไป)
ค่า error คือ ค่าความต่างระหว่าง SP กับค่า PV ( Feedback Control Diagram ด้านบนเพื่อความเข้าใจ) ค่า error นี้ controller จะนำมาพิจารณาเพื่อตัดสินใจสั่งการให้ อุปกรณ์หน้างาน (Control device) ปรับ Process input (MV) ที่เข้าProcess แล้วทำให้ได้ค่า Process output (PV) ใกล้เคียงกับค่า SP มากขึ้น
ความมีประสิทธิภาพของการควบคุมแบบนี้ขึ้นอยู่กับค่า accuracy(ค่าความแม่นยำ) ของ sensor , ความเร็วในการตรวจจับ error , ความเร็วของ controller ในการประมวลผลสั่งการ ให้อุปกรณ์หน้างานปรับแต่งค่า Process input ที่ส่งเข้าไปในระบบรอบใหม่ ให้ได้ค่า PV รอบถัดมาให้ใกล้เคียงกับ SP มากขึ้น
ข้อได้เปรียบประการหลักของ Feedback control คือ ความสามารถในการจัดการสิ่งรบกวนระบบ (disturbance) และ ความไม่แน่นอนของระบบ (uncertainties)ได้ดี เนื่องจากการควบคุม action ใดๆ เกิดขึ้นจากการดู Process Output ที่ออกมาจริงๆ การควบคุมจึงสามารถชดเชยสิ่งรบกวนระบบ หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริง ณ ขณะนั้นได้ ทำให้รักษาระดับ Process output ให้ใกล้เคียงกับ SP ที่ต้องการได้ดีนั่นเอง
เมื่อนำค่า Process Output ที่เกิดขึ้นจริงมาใช้พิจารณา ก็เหมือนรู้ผลจริงๆ จากการ run process นั้นๆ จึงทำให้ทราบได้ว่าผลเป็นไปตามที่ต้องการหรือไม่ แล้วปรับเปลี่ยนได้ตามต้องการและทันเวลา
ข้อสังเกตุของ Feedback Control ก็คือ มีการนำค่าบางอย่างที่ปลายทางของ Process เข้ามาเป็นปัจจัยประเมินควบคุม Process อีกในครั้งถัดไป
และเพื่อความเข้าใจรายละเอียดมากยิ่งขึ้น
ผู้อ่านอาจลองศึกษาเพิ่มเติมจากบทความ
PID Control Basic ด้วย
ตัวอย่างFeedback Control - ระบบทำความร้อนในห้อง
โดยต้องการทำอุณหภูมิในห้องให้ได้ 20 องศา ( SP) การใช้ feedback control จะเป็นการสังเกตการณ์ และ ปรับค่าพลังงานที่ใส่เข้าไปในระบบระบบทำความร้อน ( Process input หรือ MV) โดยตัดสินใจจากค่า อุณหภูมิจริงๆในห้อง (Process output /PV)
ถ้าอุณหภูมิในห้องต่ำไป( Process output /PV ต่ำ) controller ก็จะสั่งให้เพิ่มพลังงาน (เพิ่ม Process input/ MV) ถ้าอุณหภูมิในห้องสูงไป ( Process output /PV สูง) controller ก็จะสั่งให้ลดพลังงาน (ลด Process input/MV) ที่ใส่ลงไปในระบบทำความร้อนนั่นเอง
และจะเห็นว่าการควบคุมแบบนี้ เป็นการควบคุมอุณหภูมิโดยไม่สนใจปัจจัยรบกวนภายนอก (external disturbance)
เมื่อเราขยายความดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับ PID Control ก็จะเข้าใจแบบง่ายๆ ได้ตาม ภาพด้านล่างซึ่งเป็นภาพจากหน้า PID Control Basic ว่า PID Control เกี่ยวข้องกับ Process Control แบบ Feedback Control ดังนี้
Feedforward control
(Open Loop Control
Feedforward control เป็นลักษณะการควบคุมแบบ open loop control เป็นconceptของระบบควบคุม Process อย่างหนึ่ง และ ใช้ในการเสริมเพิ่มลงไปในระบบ Feedback control
หลักการของ Feedforward control จะไม่เหมือนกับ Feedback control
เนื่องจาก Feedback control มีการใช้ค่า error กลับมาเป็นค่าเพื่อพิจารณาควบคุมระบบ แต่ Feedforward control จะเป็นการทำนายผลของ ค่า error ของ Process output/PV ล่วงหน้าไปที่จะเกิดขึ้น แล้วทำการปรับเปลี่ยนค่า Process input/MV ให้สัมพันธ์กับการทำนาย error ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
การทำนายล่วงหน้านอกจากจะพิจารณาจากการคาดการณ์ค่า error ของ Process output/PV แล้ว ยังพิจารณาจากการคาดการณ์ external disturbance ด้วย (ค่ารบกวนที่เราทราบล่วงหน้าว่าจะส่งผลกับค่า Process output/PV )
โดยเมื่อทำนายแล้วก็จะทำการปรับค่า Process input ล่วงหน้าเข้าไปเลย
ข้อสังเกตุของ Feedforwad Control ก็คือไม่มีการนำค่าใดๆ ที่ปลายทางของ Process กลับมาร่วมพิจารณาในการควบคุม Process นั่นเอง
ตัวอย่าง Feedforward Control - ระบบทำน้ำอุ่นในห้องน้ำ
เมื่อผู้ใช้น้ำอุ่นอยากได้อุณหภูมิที่ 35 องศา (Process output/PV ที่ 35 องศา ) Controller ก็จะรับสัญญาณโดยการที่เราป้อนข้อมูลด้วยการหมุน knob (รับ SP) ที่ 35 องศา และ Controller ส่งสัญญาณให้ control device ในที่นี้คือตัวจ่ายไฟ จ่ายไฟ ให้ ส่วนทำน้ำอุ่น (Process) ที่ค่าหนึ่ง (โดยปริมาณไฟที่จ่ายจะเท่ากับปริมาณไฟที่โปรแกรมไว้ล่วงหน้า ว่าถ้าถูกตั้งเอาอุณหภูมิ 35 องศาต้องจ่ายไฟเท่านี้)
แต่อุณหภูมิน้ำจะเพิ่มขึ้นเป็น 35 องศาได้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ preset condition และ external disturbance ด้วย เช่น อุณหภูมิน้ำขาเข้าเครื่องทำนำ้อุ่น เย็นกว่าหรือร้อนกว่า อุณหภูมิน้ำที่controller ถูกตั้งข้อมูลให้เป็นฐานคิดตอนแรก
สมมติต่อไปอีกว่าอุณหภูมิน้ำของเรา เย็นกว่าอุณหภูมิน้ำที่ Controller มีข้อมูล เช่นในวันที่ฝนตกอุณหภูมิน้ำประปาจะเย็นกว่าปกติ เราจะสังเกตได้ว่าน้ำอุ่นของเราจะไม่อุ่นเพียงพอเหมือนที่เราเคยอาบ ถึงแม้ว่าเราจะหมุน knob ไปในตำแหน่งเดิมที่เราหมุนประจำทุกครั้งที่อาบน้ำในที่นี้คือ 35 องศา
นั่นเป็นเพราะว่า ถึงแม้เราจะตั้ง SP เท่าเดิม Controller ส่งสัญญาณให้ Control device จ่ายไฟให้ส่วนทำน้ำอุ่นเท่าเดิม แต่น้ำก็อุ่นน้อยกว่าเดิม ในที่นี้ คือ นำ้อุ่นไม่ถึงอุณหภูมิ 35 องศา และ ทั้งระบบก็ไม่ได้พยายามโดยอัตโนมัติที่จะทำน้ำให้อุ่นไปที่ 35 องศา หรือไปที่อุ่นปกติที่เราเคยใช้ในวันที่ฝนเกิดตกขึ้นมา ( ในขณะที่ Feedback Control จะพยายามโดยอัตโนมัติเพื่อให้ได้น้ำอุ่นตามที่เราสั่ง โดยวัดค่าอุณหภูมิน้ำที่ปลายทางแล้วกลับมาปรับปริมาณไฟฟ้าให้ส่วนทำน้ำอุ่น)
ความมีประสิทธิภาพของ feedforward control จะขึ้นกับความถูกต้องแม่ยำ ในการคาดการณ์พยากรณ์ และ ความเร็วในการควบคุมการaction รวมทั้งผู้ใช้ต้องสามารจับและคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของ external disturbance และ condition อื่นๆ แล้วทำการปรับเพื่อให้ได้ Process output ที่ต้องการเอาเอง ในที่นี้คือเราต้อง หมุน knob เพิ่มอุณหภูมิเข้าไปอีกเพื่อให้ได้น้ำอุ่นเท่าเดิมในวันที่ฝนตก
จากที่กล่าวถึงด้านบน จะเห็นว่า Feedforward control จะสามารถรับมือกับระบบที่ยากที่จะวัดค่า ใดๆ ตรงฝั่ง output (เราคงไม่วัดอุณหภูมิน้ำขณะที่เรากำลังอาบ เราแค่คาดการณ์ว่าถ้าอุ่นไม่พอ เราก็หมุน knob เพิ่ม)
Feedforward นอกจาก จะเหมาะกับกระบวนการ ที่วัดค่า output ได้ยากแล้ว ยังเหมาะกับ process ที่มีสิ่งรบกวนที่เปลี่ยนแปลงเร็วๆ
แต่ control ทั้งสองแบบนี้ ถ้าได้ใช้ร่วมกันก็จะทำได้ผลของการควบคุมที่มีเสถียรภาพ และ ประสิทธิภาพสูงขึ้น
นอกจากรูปแบบ control ด้านบน ก็อยากจะกล่าวเสริมถึงเรื่อง การควบคุมแบบอื่นๆอีกสักเล็กน้อย
On Off
การควบคุมระบบแบบนี้ เป็นการควบคุมโดยอิงตามค่าของ sensor อย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น จะเกิด action ส่งผลให้ได้ output เกิดไปในทิศทางตรงกันข้ามกับ output ก่อนหน้าโดยสิ้นเชิง
เป็นระบบ control ที่มุ่งสนใจไปที่ ส่วนต่างๆหลายๆส่วนของระบบ และ หลายๆระบบพร้อมกัน โดยจะมีการสั่งการเพื่อให้เกิดผลหลายๆผลพร้อมๆกัน ซึ่งการทำแบบนี้ จะให้ทั้งระบบใหญ่โดยรวมเกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ต้องการ
โดยจะต้องมีการทำงานร่วมกันของ sensors จำนวนมากที่วัดค่าเป็นหมวดๆ และวัดหลายหมวด รวมทั้งอุปกรณ์ Field Instrument อื่นๆมากมาย เพื่อทำให้เกิดการสั่งการในหลายๆส่วนหลาย Process หลายเครื่องจักรเกิดพร้อมกันโดยองค์รวม
เพิ่มเติมอีกสักนิดถึงข้อได้เปรียบเสียเปรียบของการควบคุมแบบ Feedback Control และ Feedforward Control
Feedback Control ข้อดี ข้อเสีย
สามารปรับการทำงานให้ถูกต้องได้ด้วยตัวเองแบบ real time
เป็นระบบ control ที่ปรับการทำงานได้เองเมื่อ สภาพเงื่อนไขปัจจัยรอบข้างเปลี่ยนไป (external disturbance)
เมื่ออุปกรณ์ต่างๆในระบบเสื่อมสภาพตามกาลเวลา ระบบ control แบบนี้ก็สามารถปรับตัวในการทำงานได้ดีกว่า open loop control
ถูกรบกวนโดย noise และ disturbance น้อยกว่า feedforward control
ถ้าในกระบวนการที่ต้องการความแม่นยำสูง ถูกต้องสูง feedback control จะมีประสิทธิภาพดีกว่าแบบ feedforward control
การออกแบบระบบค่อนข้างซับซ้อน
ราคาแพงกว่า feedforward control
ถ้าอุปกรณ์บางอย่างเสียหายเช่น sensor หรือ การส่งค่าสัญญาณ feedback มีปัญหา จะทำให้การทำงานแย่ลงหรือทำงานไม่ได้เลย
มี response time ที่ช้ากว่า ในบางกรณี เพราะ ต้องรอสัญญาณป้อนกลับ รอประมวลผล เป็นต้น
Feedforward Control ข้อดี ข้อเสีย
มีระบบที่เรียบง่าย ไม่ต้องการการออกแบบซับซ้อน และไม่ต้องเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ฝั่ง output
เนื่องจากเรียบง่ายจึงมีราคาที่ไม่แพงทั้ง ราคาลงทุนเริ่มต้นและค่าบำรุงรักษา
เนื่องจากไม่มี feedback ใดๆมาเกี่ยวข้อง จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการแกว่ง หรือไม่มี
เสถียรภาพของการ control ซึ่งส่วนมากจะเกิดใน feedback control
Controller ตอบสนองได้เร็วกว่าเพราะไม่ต้องรอสัญญาณป้อนกลับจากปลายทาง
เนื่องจากเป็นการตั้งค่าล่วงหน้า จึงง่ายต่อการคาดการณ์ผลของระบบ หากเงื่อนไขสิ่งแวดล้อมอันอื่นคงที่
สามารถใช้กับการควบคุมที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูงเช่นการปิ้งขนมปัง หรือ ไดร์เป่าผม และมีความประหยัดมากกว่า
ไม่ตอบสนองอัตโนมัติ คิดและปรับกระบวนการเองไม่ได้ เมื่อเกิดค่า error
เนื่องจากไม่มีกระบวนการป้อนผลปลายทางกลับมาให้พิจารณาจึงรับมือกับปัญหาสิ่งรบกวนภายนอก(external disturbance) ไม่ได้
ต้องการความรู้และข้อมูลเพื่อใช้ในการคาดการณ์เพื่อจะตั้งค่าเริ่มแรก และเมื่อต้องการปรับผลที่ได้ Process output
ใน process ที่ซับซ้อนและต้องการความแม่นยำสูง feedforward control ทำได้ไม่ดี ปรับตัวเองไม่ได้
เนื่องจากอุปกรณ์ในระบบสึกหรอไปตามกาลเวลาที่ใช้งาน การใช้ feedforward control อาจจะได้ผลที่ต่างออกไปเพิ่มขึ้นเมื่ออุปกรณ์พวกนี้เสื่อมสภาพเพราะ ระบบปรับตามปัจจัยที่เปลี่ยนไปไม่ได้ด้วยตัวเอง
ในหัวข้อถัดไป ก็จะขอกล่าวถึง Components of a Process Control System
เพื่อท่านที่สนใจ จะได้มีไอเดียเพิ่มเติม เกี่ยวกับ Field instrument and Control System เพิ่มมากขึ้น เพื่อนำไปต่อยอด ศึกษาเพิ่มเติมเองได้โดยง่าย
โปรดติดตามตอนต่อไป
PID Control PID Tuning AZBIL Controller SDC36 AZBIL AZBIL Controller การตั้งค่า Process Control Basic ISA symbol P&ID