ภาพรวม PLC และ BAS
เป็นระบบควบคุมในอุตสาหกรรม ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสร้าง industrial automaiton
PLC หรือ Programmable Logic Controller
เป็นอุปกรณ์ที่มีพื้นฐานการทำงาน อิงบน hardware เป็นหลัก ใช้ในการตั้งค่าให้กับการทำงานของเครื่องจักร และ การปฏิบัตการต่างๆ ในกระบวนการหลากหลายรูปแบบ PLC ถูกสร้างขึ้นเพื่อทำหน้าที่ควบคุมการทำงานแบบ realtime เช่นการสังเกตการณ์ตัวแปรขาเข้า (input) และ ขาออก (output) โดยสามารถตัดสินใจเลือกทางเลือกตามที่มีกำหนดไว้ โดยิงตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานได้กำหนดไว้ล่วงหน้า และสามารถใช้ผลนั้นสื่อสาร สั่งการกับอุปกรณ์อื่นๆได้อีกด้วย
BAS หรือ Building Automation System ( บางคนเรียก BMS หรือ Building Management System)
เป็นอุปกรณ์ที่มีพื้นฐานปฏิบัติการงอิงบน Software เป็นหลัก ใช้สำหรับ ควบคุม และ สังเกตการณ์ ระบบต่างๆ หลายๆรูปแบบ ที่อยู่รวมกันในอาคารหนึ่งๆ เช่น ระบบ HVAC ระบบไฟส่องสว่าง และ ระบบความปลอดภัย BAS เมื่อเทียบกับ PLC แล้ว ทั้งคู่ถูกสร้างขี้นเพื่อการควบคุมแบบรวมศูนย์ และ เพื่อประโยชน์ทางด้านการสังเกตการณ์ การควบคุมการปฏิบัติการต่างๆ ของระบบที่เราต้องการ ทั้งในกระบวนการผลิต ในโรงงาน หรือ ในตัวอาคาร
ความเหมือนและแตกต่าง ระหว่าง PLC และ BAS
PLC และ BAS นั้นถึงแม้จะสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เพื่อในการควบคุม และ สังเกตการณ์เหมือนกัน แต่ ก็มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันกล่าวคือ
PLC เป็นตัวcomputer ใช้เพื่อควบคุมเครื่องจักร และ ระบบปฏิบัติการในอุตสาหกรรรม จะคอยตรวจจับ ค่า input และ ค่า output และ เลือกทางเลือกต่างๆ ตามตรรกะ ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า ในแต่ละกระบวนการหรือ แต่ละระบบหนึ่งๆเพียงระบบเดียว
BAS เป็นอุปกรณ์ที่ประกันขึ้นและใช้ระบบ software เป็นหลักในการปฏิบัติการใช้บริหารจัดการ และ ควบคุม ระบบหลายๆ ระบบในอาคารหนึ่งๆ เช่น ระบบไฟส่องสว่าง, HVAC ( Heating Ventilation and Air Conditioning), ระบบดับเพลิงและ ระบบความปลอดภัย
BAS สามารถรวบรวมข้อมูลต่างๆ จาก อุปกรณ์ตรวจจับ( sensors) และเครื่องมือต่างๆที่ใช้อยู่ในระบบเหล่านั้น (devices) และ ใช้ข้อมูลเหล่านั้นเอาไปประมวลผลต่อ เช่นนำไปใช้ปรับปริมาณการใช้พลังงานให้มีประโยชน์สูงสุด ทำให้ผู้ใช้งานทำงานทำงานได้สะดวกขึ้น และ มีความปลอดภัยมากขึ้น
ส่วนมาก BAS ถูกใช้ไปกับการบริหารระบบรวมของอาคารที่มีความซับซ้อนเพื่อให้การทำงานของระบบรวมทั้งหมดมีความลื่นไหลไม่ติดขัด และทำงานได้สอดคล้องกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
อย่างไรก็ดี PLC และ BAS มีบางมุมที่คล้ายกัน คือทั้งสองระบบจะทำงานร่วมกับ sensors (อุปกรณ์ตรวจจับหน้างาน) และ actuators (ตัวปรับการเปิดปิดของ valve) เพื่อนำค่าที่เป็นผลลัพธ์จากอุปกรณ์ทั้ง 2 ไปประมวลผล และ ตัดสินใจ
ทั้งสองระบบ สามารถรองรับการเขียนโปรแกรม และ ตั้งค่าในแบบต่างๆ เพื่อบริหารจัดการในแบบที่ต้องการ
แต่ถึงกระนั้น อุปกรณ์ทั้งสองก็ถูกใช้งานด้วยจุดประสงค์ที่ต่างกัน และ ใช้ในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน
โดย PLC จะควบคุมกระบวนการอุตสาหกรรม อยู่ที่บริเวณภายในส่วนปฏิบัติการ หรืออยู่หน้างานเป็นหลักในขณะที่ BAS จะดูภาพรวมของโครงสร้างทั้งระบบ
การเข้าใจความแตกต่างระหว่าง 2 ระบบนี้ เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่อการเลือกใช้ technology ให้เหมาะสมกับแต่ล่ะ application
กลไกการทำงานและการนำไปใช้ ใน Industrial Automation
PLC เพื่อตั้งค่าเพื่อสังเกตุการณ์ หรือ สั่งการ ส่วนต่างๆในกระบวการ ในเครื่องจักร และ อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ เช่น การตั้งระบบอัตโนมัติของมอเตอร์ ปั๊ม วาล์ว และ sensor โดย จะสั่งการอุปกรณ์ต่างๆในระบบนั้น เมื่อตัดสินใจเลือกทางเลือกให้ใช้คำสั่ง โดยอิงจากการรับข้อมูลผ่าน sensor ร่วมกับการประมวลผล ซึ่งชุดคำสั่ง และ ทางเลือกที่กล่าวถึงจะถูกโปรแกรมเอาไว้ล่วงหน้า
PLC ถูกนำมาใช้ในส่วนย่อยๆหลายๆส่วนของแต่ล่ะอุตสาหกรรม อาทิเช่น อุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมยายนต์ อากาศยาน และ อุตสาหกรรมพลังงาน
BAS ถูกนำมาใช้เพื่อดูภาพรวม และ ควบคุมระบบ facility ต่างๆในอาคาร เช่น HVAC ระบบไฟส่องสว่าง ระบบความปลอดภัย โดยการใช้ sensor ตรวจจับและเก็บข้อมูล แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อหาจุดเหมาะสมในเพื่อการปฏิบัติการต่อๆไปในระบบ และจะพิจารณาการบริหารจัดการทั้งในแง่การใช้พลังงาน การปรับปรุงเพื่อความสะดวกสบายต่างๆ รวมถึงความปลอดภัยของอาคารนั้นๆ BAS ถูกใช้ในอาคารมากมาย เช่น อาคารสำนักงาน โรงพยาบาล โรงเรียน และ สนามบินเป็นต้น
PLC เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานตอบสนองได้รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ เมื่อมองในแง่ของการปฏิการแล้ว การใช้งาน PLC สามารถถูกโปรแกรมให้ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการต่างๆที่ซับซ้อนได้ และ สามารถทำงานได้ดีในสภาวะที่ยากลำบากอย่างหน้างาน เป็นต้น
BAS ถูกออกแบบมาเพื่อจัดการะบบปฏิบัติการต่างๆหลายๆ ระบบ และช่วยค้นหาจุดที่เหมาะสมโดยภาพรวมของทุกระบบในอาคารโดยองค์รวม
BAS ถูกนำมาใช้ในการควบคุมและทำระบบอัตโนมัติแบบภาพรวม ที่ต้องการการเชื่อมต่อระหว่างแต่ระบบที่แตกต่างกันในหนึ่งอาคาร
PLC และ BAS สามารถถูกใช้ร่วมกัน เพื่อสร้างระบบควบคุม สังเกตการณ์ อัตโนมัติในอุตสาหกรรม( Industrial Automation) โดยถ้าจะพูดเจาะจงลงไป BAS สามารถควบคุมระบบ บริหารจัดการให้ได้ภาพรวมระบบที่เหมาะสมของแต่ล่ะระบบร่วมกัน ในขณะที่ ตัวPLC จะใช้ควบคุมการปฏิบัติการในระบบหนึ่ง ใน เครื่องจักรหนึ่ง และ ในอุปกรณ์หน้างานต่างๆ
ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในการใช้งาน PLC
ถึงแม้ว่า PLC และ BAS จะมีลักษณะการใช้งานที่ต่างกัน แต่ทั้งคู่ก็ถูกนำมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย และ ปรับปรุงความปลอดภัยเช่นเดียวกัน ด้านล่างนี้เป็นการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างระบบทั้งสองนี้ ผู้ใช้ควรเลือกใช้งานตามความเหมาะสมและให้ตรงตามจุดประสงค์ของแต่ล่ะเนี้องาน
ข้อได้เปรียบในการใช้ PLC
•เพิ่มประสิทธิภาพ
PLC สามารถถูกโปรแกรมให้ทำงานได้อัตโนมัติในกระบวนการ และลดความจำเป็นในการต้องเข้าไปหน้างานเพื่อไปปรับจูนระบบเองแบบ manual ทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมกระบวนการนั้นๆอีกด้วย
•มีความน่าเชื่อถือได้
PLC ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ใช้งานในสิ่งแวดล้อมที่มีความยากลำบากในแต่ล่ะอุตสาหกรรม อย่างเช่นหน้างานในกระบวนการผลิต สามารถถูกโปรแกรมให้ตรวจจับต่อความผิดพลาดและตอบสนองเพื่อแก้ไขได้ โดยอิงจากการรับส่งสัญญาณที่ได้จาก sensor เป็นต้น ทำให้ระบบการปฏิบัติการที่มี PLC เกี่ยวข้องทำงานอย่างคงที่และสม่ำเสมอ
•ความยืดหยุ่นในการใช้งาน
PLC ถูกปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการตามกระบวนการที่แตกต่างกันไป ถูกโปรแกรมตั้งค่าใหม่ซ้ำๆได้ และทำหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายได้หลากหลาย
•เพิ่มความปลอดภัย
PLC นำไปใช้ในเรื่องการคอยสังเกตการณ์ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยได้ และ สามารถสังปิดเครื่องจักรต่างๆได้เมื่อมีเหตุการณ์ฉุกเฉิน ซึ่งจะช่วยปกป้องผู้ใช้งานและอุปกรณ์ต่างๆจากอันตรายด้วย
ข้อเสียเปรียบในการใช้ PLC
•มีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น
PLC มีราคาค่อนข้างสูง และ จำเป็นต้องถูกติดตั้ง และ โปรแกรมเครื่องก่อน เมื่อใช้งานในระบบที่มีความซับซ้อนมากๆ
•ความซับซ้อนในการโปรแกรม
การโปรแกรม PLC จำเป็นต้องใช้ความรู้ และ การฝึกสอนเฉพาะด้าน ซึ่งอาจกลายเป็นอุปสรรคในการเริ่มต้นใช้งานสำหรับบางองค์กร
•ต้องบำรุงรักษา
เมื่อใช้ PLC ก็จำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและ update เพื่อให้ PLC ใช้งานได้ดี และน่าเชื่อถืออยู่เสมอ
ข้อได้เปรียบเสียเปรียบในการใช้งาน BAS
ข้อได้เปรียบในการใช้ BAS
•เพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
เนื่องจาก BAS เป็นระบบอัตโนมัติที่ทำการควบคุมระบบอื่นๆโดยรวม จึงสามารถนำมาใช้ในการหาความเหมาะสมในการใช้พลังงานได้เป็นอย่างดี
•เพิ่มความสะดวกสบายในการปฏิบัติการ
BAS สามารถตรวจการณ์และปรับจูนค่าคุณภาพของอากาศและ อุณหภูมิ เพิ่มความสบายให้กับผู้ที่ในอาคารนั้นๆ
•การควบคุมระยะไกล
BAS สามารถใช้ควบคุมและสังเกตการณ์ได้จากระยะไกล ทำให้เกิดความมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการได้อย่างมหาศาลทั้งตัวอาคารและหน้างาน
ข้อเสียเปรียบในการใช้ BAS
•มีความซับซ้อนในการใช้งาน
BAS มีความยุ่งยากในการติดตั้งและโปรแกรมเมื่อเริ่มต้นใช้งาน และ ยังต้องการความรู้พิเศษและความเชี่ยวชาญในการปรับใช้อีกด้วย
•มีค่าใช้จ่ายอยู่เสมอ
BAS มีค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะคงให้ระบบใช้งานได้อยู่เสมอ โดยเฉพาะในอาคารที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อน
ในการใช้งาน ทั้ง PLC และ BAS ต่างก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ โดย PLC สามารถปรับใช้กับการควบคุมเครื่องจักร และ อุปกรณ์ ส่วน BAS จะใช้ในการบริหารจัดการ facility และ พลังงานให้มีความเหมาะสมโดยภาพรวม ตามที่กล่าวไปข้างต้น
เปรียบเทียบโครงสร้างและส่วนประกอบของ PLC และ BAS
เนื่องด้วยการใช้งานที่ต่างกัน โครงสร้างและส่วนประกอบต่างๆของทั้งสองระบบนี้ จึงมีความแตกต่างกันดังนี้
PLC
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ได้แก่ processor(ส่วนประมวลผล) memory(ส่วนความจำ) และ I/O unit( อุปกรณ์ที่เป็นจุดเชื่อมให้สัญญาณเข้าออก)
Processor เปรียบเสมือน สมองของ PLC ทำหน้าที่ในการประมวลผลตามที่เราได้ตั้งโปรแกรมคำสั่งไว้ และ ควบคุมการทำงานของระบบนั้นๆ
ส่วน software ข้อมูลต่างๆ รวมถึง ค่าinput output จะถูกเก็บเอาไว้ในส่วนของ memory ; I/O เป็นส่วนที่ใช้ทำหน้าที่ต่อเชื่อม PLC เข้ากับ อุปกรณ์ตรวจจับภายนอก ( external sensors) or actuators (ตัวปรับขนาดการเปิดปิดของวาล์วในกระบวนการ) และ อุปกรณ์อื่นๆ เป็นต้น และหลังจากนั้นจะนำค่าสัญญาณขาเข้าที่ได้ มาประมวลผลและส่งสัญญาณที่เป็นผลจากการประมวลออกไปสั่งการอุปกรณ์ต่างๆเป็นต้น
PLC สามารถถูกโปรแกรมเพื่อควบคุมด้วยตรรกะแบบขั้นบันได ladder logic หรือ แบบ graphic (graphical programming language)ที่เหมือนกับไดอะแกรมวงจรไฟฟ้าได้ด้วย( electrical wiring diagram)
BAS
มีโครงสร้างที่ซับซ้อนกว่า PLC เนื่องจากต้องบริหารจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งอาคาร BAS ถูกสร้างขึ้นมาจากระบบเล็กๆหลายๆระบบ
ซึ่งส่วนย่อยลงไปก็ประกอบไปด้วย sensors ,อุปกรณ์ต่างๆ, controllers, เครือข่ายข้อมูล, และ user interface จำนวนมากมาย
ระบบสังเกตการณ์สิ่งแวดล้อม ระบบความปลอดภัย รวมทั้งระบบอื่นๆในอาคาร เช่น HVAC และ ระบบไฟส่องสว่างก็ใช้พวก sensors และ อุปกรณ์อื่นๆประกอบขึ้นมาทั้งนั้นนั่นเอง
เพื่อที่การบริหารจัดการจะเป็นไปอย่างเหมาะสมที่สุด controllers ในระบบ BAS ( ถ้าซับซ้อนขึ้นมาก็จะแทนที่ controllers ด้วย PLC ) ต้องประมวลผลข้อมูลที่ได้มาจาก sensor และ อุปกรณ์ต่างๆจำนวนมาก แล้วทำการเลือกทางเลือก อิงตามระบบเหตุผลที่ได้โปรแกรมใส่ไว้ล่วงหน้า controllers จะตอบสนองหรือไม่ตอบสนองต่อระบบส่วนอื่นๆของอาคาร ขึ้นกับ เครือข่ายสื่อสาร เช่นผ่าน BACnet หรือ Modbus ที่เชื่อมโยงไว้ตอนทำเครือข่ายให้ BAS ผู้ใช้สามารถติดตามดูและ ควบคุมระบบของอาคารได้โดยผ่าน user interfaces ของระบบ BAS ตัวอย่างเช่นหน้าจอสัมผัส หรือ เข้า website ที่เข้าถึงระบบ BAS นั้นได้นั่นเอง
ตัวอย่าง BAS ที่บริษัท พฤกษ์ฐนน จำกัด เป็นผู้ติดตั้ง
PLC ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบริหารจัดการเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆแบบ real time ด้วย โครงสร้างแบบพื้นฐานที่จะสามารถจัดลำดับความสำคัญในการประมวลผล ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงความเร็วในการสั่งการให้ส่วนหนึ่งส่วนใดของระบบเกิดการปฏิบัติการและมีความน่าเชื่อถือ
ในขณะที่ BAS มีโครงสร้างที่ซับซ้อน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถบริหารจัดการและรับมือกับระบบที่หลากหลายได้พร้อมๆกัน สามารถหาความสมดุลร่วมกันของระบบโดยรวมทั้งอาคาร หรือ ภาพรวมของการผลิต, การปฏิบัติการได้
โครงสร้างและส่วนประกอบของ PLC และ BAS ใน การทำ industrial automation หนึ่งๆนั้น จะแตกต่างกันไป ขึ้นกับระบบที่จะเอามา PLC และ/หรือ BAS มาควบคุม
PLC มีโครงสร้างการทำงานที่เรียบง่ายแบบเป็นลำดับขั้นตอนในการสั่งการเครืองจักรและอุปกรณ์แบบทันที (real time )
แต่ BAS มีความซับซ้อนในโครงสร้างการทำงานมากกว่า เนื่องจากจะต้องบริหารจัดการ facility ในตึกทั้งตึก และ ต้องหาจุดที่เหมาะสมในการใช้พลังงานอย่างเหมาะสมที่สุดด้วยเช่นกัน
PLC และ BAS ในแง่ประสิทธิภาพการควบคุมระบบ ความยืดหยุ่นในการใช้งาน และ ความสามารถในการขยายเสกลเพื่อใช้งาน
ประสิทธิภาพในการควบคุมระบบ
PLC มีระบบประมวลผลที่เร็ว และ มีระยะเวลาที่จะส่งปฏิกิริยาตอบสนองชัดเจนแน่นอน สร้างขึ้นมาเพื่อควบคุมแบบ real time ในเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ สิ่งเหล่านี้ทำให้ PLC มีการตอบสนองไวและ แม่นยำ ทำระบบที่เราต้องการควบคุม คงไว้และเป็นไปตามที่ต้องการได้ ไม่ออกไปนอกขอบเขตที่เรากำหนดไว้
BAS มีจุดประสงค์เพื่อบริหารทุกระบบ บนอาคาร ทำให้การตอบสนอง และ บริหารจัดการไม่เป็น real time
BAS มีการประมวลผล และส่งปฏิกิริยาตอบสนองออกมาช้ากว่า แต่ตัวมันเองสามารถควบคุมระบบได้ทุกระบบ โดยภาพรวม ทั้งอาคาร
ความยืดหยุ่นในการใช้งาน
PLC มีความยืดหยุ่นได้อย่างมาก สามารถถูกตั้งโปรแกรมตรรกะใหม่ได้เรื่อย ๆ และ ปรับเปลี่ยนได้ตามกระบวนการที่แตกต่างออกไป หรือปรับเปลี่ยนได้ตามค่า output ที่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้าตามต้องการ
PLC ใช้ได้ในหลากหลาย application ตั้งแต่ระบบควบคุมแบบเรียบง่าย ไปจนถึงระบบควบคุมที่มีความซับซ้อน
เมื่อเปรียบเทียบแล้ว เนื่องจาก ความซับซ้อนของระบบอาคาร และ การต้องการความเชี่ยวชาญในการโปรแกรมและตั้งค่าเริ่มต้น จึงทำให้ การใช้ BAS มีความยืดหยุ่นน้อยกว่า และ มีข้อจำกัดมากกว่า
BAS ถูกออกแบบมาเพื่อการติดตั้งให้กับอาคารแต่ล่ะอาคารโดยเฉพาะหนึ่งๆและ ยากที่จะตั้งค่าใหม่เพื่อใช้งานในอาคารอื่นๆอีก
ความสามารถในการขยายเสกลเพื่อใช้งาน
PLC ถูกขยายขนาดการควบคุมได้ โดยการเพิ่ม I/O และ ต่อเชื่อมเข้ากับ PLC หลายตัวจำนวนมาก ดังนั้น PLC เองสามารถใช้งานได้ตั้งแต่การควบคุมในเสกลขนาดเล็กไปจนกระทั่งใหญ่ เมื่อเปรียบเทียบแล้ว BAS มีความสามารถน้อยกว่าในเรื่องการขยายการเสกลในการใช้งาน
เพราะ BAS นั้นบริหารจัดการระบบแต่ล่ะระบบร่วมกัน ดังนั้น ขนาดของ BAS จึงขึ้นกับ ขนาดของระบบ และ ความซับซ้อนของระบบหนึ่งๆ และยิ่งไปกว่านั้นเมื่อระบบที่เอาเข้ามาเชื่อมผ่าน BAS มีความซับซ้อน ก็จะทำให้ BAS มีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นตามไปด้วยอีกทอดหนึ่งเช่นกัน
PLC และ BAS จำนวนมากนั้นแตกต่างกันในแง่ของประสิทธิภาพในการควบคุม ความยืดหยุ่นในการใช้งาน และ ความสามารถในการขยายเสกลเพื่อใช้งาน
PLC มุ่งหมายเพื่อที่จะควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ แบบ real time และ เพราะมีประสิทธิภาพสูงและมีความยืดหยุ่น มันจึงเหมาะกับการใช้ ใน application ที่หลากหลาย
BAS มุ่งหมายเพื่อบริหารจัดการระบบของอาคาร มีความสามารถในการควบคุมและ มีความยืดหยุ่นในการใช้งานน้อยกว่า แต่กลับมีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการใช้พลังงาน และ ให้ความสะดวกสบาย ความปลอดภัยกับผู้ใช้งานได้มากกว่า
ต้นทุนของ PLC และ BAS
การติดตั้ง PLC เป็นทางเลือกที่มีต้นทุนต่ำในการควบคุมเครื่องจักรและ อุปกรณ์แบบ realtime ต้นทุนของระบบ PLC ขึ้นอยู่กับขนาดของระบบควบคุมที่ต้องการ และความซับซ้อนของกระบวนการที่ต้องการจะไปควบคุม
PLC ขนาดเล็ก ที่มี I/O ไม่กี่หน่วย และ มีการตั้งโปรแกรมเป็นแบบพื้นฐานจะมีราคาไม่แพง แต่ในทางกลับกัน หากเป็นระบบใหญ่และมีความซับซ้อนของระบบมากก็จะมีราคาสูง อย่างไรก็ตาม PLC เองมีความน่าเชื่อถือในการใช้งานสูง และ ไม่ค่อยจุกจิก จึงทำให้เกิดการประหยัดต้นทุนและมีอายุการใช้งานได้จนตามอายุการใช้งานของระบบนั้นๆ
BAS ในทางกลับกัน มี ค่าใช้จ่ายในการเริ่มต้นที่สูง เนื่องด้วยความซับซ้อนของระบบในอาคาร และ ความต้องการ hardware software ที่ออกแบบเฉพาะเพื่อใช้กับอาคารนั้นๆ
ขนาดของอาคารและ ความซับซ้อนของอาคาร จำนวนของระบบย่อยที่นำมาเชื่อมต่อ ความยากง่ายในการทำระบบอัตโนมัติ สิ่งเหล่านี้ มีผลต่อต้นทุนในการทำระบบ BAS ทั้งสิ้น
อย่างไรก็ตาม BAS เองมีผลกับการประหยัด และ ควบคุมค่าใช้จ่ายและต้นทุนระยะยาว เนื่องจาก BAS ช่วยเรื่องการหาจุดเหมาะสมในการใช้พลังงาน การลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและช่วยให้ผู้ใช้งานมีความสะดวกสบายและปลอดภัยเมื่อปฏิบัติหน้าที่ด้วย
ตัวอย่าง PLC ที่บริษัท พฤกษ์ฐนน จำกัด เป็นผู้ติดตั้ง
กล่าวโดยสรุปจะเห็นว่ามีหลายปัจจัยหลากหลาย ที่จำเป็นต้องนำมาพิจารณาเมื่อ เปรียบเทียบระหว่าง PLC และ BAS
ในที่นี้อยากจะขอเพิ่มเติมอีกสักเล็กน้อยกล่าวคือ
รูปแบบการควบคุม
PLC นั้นมุ่งหมายเรื่องการควบคุมแบบแยกส่วน ไม่ต่อเนื่องไปส่วนอื่น ในขณะที่ BAS มุ่งหมายเพื่อควบคุมแบบต่อเนื่องไปกันไปเรื่อยๆ จากระบบสู่ระบบ
PLC จึงมักใช้ในกระบวนการผลิต และ กระบวนการควบคุมเป็นส่วนๆในขณะที่ BAS จะใช้ในตึกพาณิชย์ โรงพยาบาลและ facility อื่นๆ
ระดับของการรวมศูนย์ในการควบคุมและ ความเหมาะสมเข้ากันระหว่างระบบต่างๆที่มีความหลากหลาย ก็เป็นสิ่งที่มีความแตกต่างกล่าวคือ
ความเฉพาะเจาะจง
PLC ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในรูปแบบที่กว้างขวางกับ hardware และ software ของระบบที่หลากหลาย ทำให้สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้เป็นอย่างดีในขณะที่ BAS จำเป็นต้องออกแบบให้เฉพาะเจาะจงทั้ง hardware และ software ของระบบต่างๆ เพื่อที่จะนำมาใช้งานแบบรวมศูนย์หนึ่งได้ การควบคุมสังเกตุการณ์แบบรวมศูนย์นี้ ต้องอาสัยความแน่นอนน่าเชื่อถือของระบบ BAS เพื่อที่ระบบต่างๆที่หลากหลายในอาคารหนึ่งๆจะทำงานได้อย่างสอดคล้องกัน และ ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ท้ายที่สุดนี้ จะเห็นว่าเมื่อจะเปรียบเทียบอุปกรณ์ ระหว่าง PLC และ BAS ผู้ใช้มีปัจจัยต่างๆมากมายไปตามที่กล่าวข้างต้นให้เปรียบเทียบและคำนึงถึง และไม่สามารถพิจารณาเพียงแค่จำนวนเงินลงทุนขั้นต้นอย่างตรงไปตรงมาได้นั่นเอง
Reference & Article Reference
PLC BAS BMS Programmable Logic Controller Building Automation System Building Management System SCADA