พื้นฐาน-การควบคุมกระบวนการในอุตสาหกรรม
Process Control
การควบคุมกระบวนการในอุตสาหกรรม (Process control) จะดีหรือไม่ดี วัดกันที่ ผลของการควบคุม ว่าควบคุมได้ตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
Process control เริ่มต้นจากความเข้าใจในตัวแปรต่างๆ ที่อยู่ใน Process ที่เราจะควบคุม
โดยในอุตสาหกรรมการผลิต การมีตัวแปรที่หลากหลาย เช่นอุณหภูมิ อัตราการไหล ความดัน นั้น สามารถออกแบบให้ถูกวัดค่าได้อย่างต่อเนื่อง ตัวแปรที่กล่าวมาข้างต้นอาจเป็นตัวแปรอิสระที่ไม่ขึ้นแก่กันและกัน ในกระบวนการเดี่ยว หนึ่งกระบวนการ ( Single control)ก็ได้
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากกล่าวถึงการควบคุมแต่ล่ะตัวแปรด้วยวิธี manual จะพบว่าเป็นสิ่งที่ค่อนข้างยาก ใช้เวลามาก และ มีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดพลาด และนำไปสู่อันตรายต่างๆ ได้ แต่การทำ Process control ได้ทำให้เรื่องการควบคุมกระบวนการเป็นเรื่องง่ายขึ้น และยังมั่นใจได้ว่ามีความปลอดภัยต่ออุปกรณ์ และผู้ที่ทำงานอยู่หน้างานอีกด้วย
Process control
โดยส่วนใหญ่ จะประกอบด้วยการทำงาน 3 อย่างได้แก่
การวัดค่า โดยจะต้องวัดให้ถูกตัวแปร วัดให้ไวและแม่นยำ
การตัดสินใจ โดยจะต้องตัดสินใจว่าจะต้องปรับเรื่องอะไร และ ปรับเท่าใด
การปฏิบัติการ ต้องทำการปฏิบัติการให้รวดเร็วหลังจาก มีการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เพื่อไม่กระบวการออกนอกกรอบที่ควรจะเป็นมากเกินไป
จะเห็นว่า Level sensor (เซ็นเซอร์วัดระดับ) ได้วัดค่าระดับของเหลวในถัง และแปลงสัญญาณส่งไปที่ ตัวควบคุม (Controller)
จากนั้น Controller เปรียบเทียบค่าที่ได้มา กับค่าที่ต้องการที่มีการตั้งไว้ล่วงหน้า (PV)
ถ้าระดับต่ำไป controller จะส่งสัญญาณไปที่วาล์วเพื่อเปิดและเพิ่มของเหลวเข้าไปในถัง เพื่อปรับให้ระดับของเหลวในถังกลับสู่ค่าที่ต้องการ
ถึงแม้ว่าใน control loop นี้จะมีการใช้ instrument ที่หลากหลายรูปแบบ
เช่น ตัวแปลงสัญญาณ (transmitter) ตัววัดค่า (sensor) วาล์ว ปั๊ม แต่พื้นฐาน process control ยังคงเดิมคือมีการทำงาน 3 ชุดเสมอ
การทำ process control จะทำให้ได้ ขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการนั้นลงไปในการออกแบบควบคุม
นอกจากนี้ การทำ process control ยังต้องการการปรับจูนระบบ จนกว่าจะได้ ปฎิกริยาตอบสนองที่ดีที่สุดในกระบวนการควบคุมนั้นๆ
ถ้าปรับจูนน้อยเกินไป ก็จะไม่ส่งผลต่อการควบคุม แต่ถ้าปรับจูนมากเกินไปก็จะทำให้เกิดความเสียหายต่อการควบคุม ต่ออุปกรณ์ หรือต่อผลิตภัณฑ์ที่ต้องการผลิตได้
โดยทั่วไปแล้วใน Process จะมีค่าตัวแปรต่างๆ ซึ่งได้แก่
ค่าความดัน (Pressure)
ค่าอัตราการไหล (Flow)
ค่าระดับความสูง (Level)
ค่าอุณหภูมิ (Temperature)
ค่าความหนาแน่น (Density)
ค่าความเป็นกรดด่าง (pH)
ค่ามวล (Mass)
ค่าความนำไฟฟ้า (Conductivity)
เป็นต้น
จะขอกล่าวถึงคำ และ วลีที่เกี่ยวข้องกับการทำ process control ดังนี้
โดยมีตัวอย่าง Process control เป็นการเติมน้ำเข้ามาในถังเพื่อปรับอุณหภูมิถังอยู่ในระดับหนึ่งที่ต้องการเสมอ
Set point (ค่าคาดหวัง; SP) เป็นค่าตัวแปรใน process ที่เราคาดหวังที่จะรักษาค่าให้อยู่ในระดับแถวๆนั้นอยู่เสมอ
ตัวอย่างเช่น ถ้า process ต้องการให้อุณหภูมิอยู่ที่ระดับ 100 องศาเซลเซียส และ +/- ได้ไม่เกิน 5 องศาเซลเซียส Set point ในที่นี้ก็คือ 100 องศาเซลเซียส และ ค่า Set point อาจเป็นค่ามากที่สุด หรือ ค่าน้อยที่สุดก็ได้เช่นกัน
Error (ค่าผิดพลาด) เป็นผลต่างระหว่างค่าที่วัดตัวแปรได้ (Process Value or Process Variable ; PV) กับ ค่าคาดหวัง (Set point ;SP) โดย Error สามารถเป็นบวกหรือ ลบก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ถ้าวัดอุณหภูมิได้ 108 องศาเซลเซียส ก็จะเท่ากับว่ามี Error อยู่ + 8 องศาเซลเซียส เป็นต้น
Duration (ช่วงเวลา) หมายถึงระยะเวลาที่ Error นั้นยังคงอยู่
Offset (ค่าชดเชย) หมายถึงค่าที่เบี่ยงเบนไปจากค่า PV และคงอยู่ที่เท่าค่านั้น ตัวอย่างเช่น ถ้า ระบบ Control ของเรา สามารถควบคุมให้ได้ค่าอุณหภูมิที่ 100.5 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเราจะตั้งค่า SP ไว้ที่ 100 องศาเซลเซียสก็ตาม นั่นหมายความว่า ค่า Offset ในที่นี้คือ 0.5 องศาเซลเซียส
Load Disturbance (ตัวรบกวนค่า PV) หมายถึง สิ่งที่รบกวน process และทำให้ค่า PV ที่ต้องการออกห่างจากค่า SP
Closed and Open Control Loops (การควบคุมแบบปิด และ การ ควบคุมแบบเปิด)
Closed control loop คือการ controlโดยการนำค่า PV ที่วัดได้ไปเปรียบเทียบกับค่า SP แล้วมีการปฎิบัติการเพื่อปรับค่าให้เข้าใกล้ค่า SP (ต้องการให้ไม่มีความแตกต่างระหว่าง 2 ค่านี้)
Open control loop คือ การ control โดยปฏิบัติการได้เองโดยไม่สนใจ PV ที่วัดได้ ณ ขณะนั้น ตัวอย่างเช่น วาล์วน้ำจะเปิดเพื่อเพิ่มน้ำเย็นเข้ามาในระบบ โดยพิจารณาจากช่วงเวลาที่มีการตั้งไว้ล่วงหน้าแต่ไม่ได้พิจารณาจากอุณหภูมิของ fluid นะขณะนั้นจริงๆ (ไม่สนใจ PV)
ISA Symbols
ISA ย่อมาจาก
The Instrumentation Systems and Automation Society
เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำในเรื่องมาตรฐาน Process control
องค์กรนี้ได้พัฒนา ชุดสัญลักษณ์ ซึ่งใช้ใน engineering drawing และ control loop design drawing
ซึ่ง drawing ที่ใช้สัญลักษณ์ต่างๆเหล่านี้ จะถูกเรียกว่า Piping and Instrumentation Drawing (P&ID)
โดย Drawing นี้ จะแสดงสัญลักษณ์ อุปกรณ์วัดคุมต่างๆ รวมทั้ง ระบบท่อ อุปกรณ์ และ PV ต่างๆ ที่จะถูกวัดค่าออกมาให้ผู้ที่ดู drawing สามารถเข้าใจแบบเดียวกันได้เป็นมาตรฐาน
ด้านล่างแสดงสัญลักษณ์อ้างอิงพอสังเขปที่ใช้โดยทั่วไป
สัญลักษณ์วงกลม
แสดงถึง เครื่องมือวัดแต่ล่ะอัน เช่น transmitter sensors detectors เส้นขีดกกลางวงกลมเส้นเดียวแสดงถึง อุปกรณ์ที่อยู่ใน โซน primary เช่น ห้องคอนโทรล
ถ้ามีสองเส้น แสดงถึง อุปกรณ์ที่อยู่ในโซนสาขา
ถ้าไม่เส้นกลาง แสดงถึง อุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ที่หน้างาน และ
ถ้าขีดกลางเป็นเส้นประ แสดงถึง อุปกรณ์ที่อยู่ในที่ที่เข้าถึงไม่ได้ตามปกติ เช่น อยู่หลัง panel board
สัญลักษณ์ สี่เหลี่ยมมีวงกลมด้านใน
แสดงถึง อุปกรณ์ที่มีทั้งหน้าจอแสดงผล และ มี function control ได้ด้วย
สัญลักษณ์หกเหลี่ยม
แสดงถึง อุปกรณ์ที่มี function computer เช่น controller
สี่เหลี่ยมที่ข้างในมีข้าวหลามตัด
แสดง ถึง PLC
สัญลักษณ์รูปหูกระต่าย
แสดงถึง วาล์วที่อยู่บนระบบท่อ
ส่วนสัญลักษณ์ actuator จะถูกวาดอยู่บนวาล์วอีกที โดยแบ่งเป็น
pneumatic manual หรือ electric
สัญลักษณ์ pump
จะเป็นตามรูป โดยมีลูกศร ชี้ไปในทิศทางที่ของไหลเดินทางผ่านไป
ระบบท่อและ ข้อต่อ
มีหลากหลายสัญลักษณ์
ถ้าเป็นเส้นทึบ แสดงถึงท่อที่เป็นท่อแข็ง ที่ต่อจาก process ไปที่ อุปกรณ์วัดคุม เป็นต้น
ตัวหนังสือที่อยู่บนสัญลักษณ์
แสดงถึง PV ตัวที่เราต้องการวัด เช่น อัตราการไหล อุณหภูมิเป็นต้น และ ยังแสดงถึง function ของอุปกรณ์ตัวนั้นๆ ด้วย
ส่วน tag number ไว้ใช้อ้างอิง ว่าเป็น control loop ไหน
PID Control PID Tuning AZBIL Controller SDC36 AZBIL AZBIL Controller การตั้งค่า Process Control Basic ISA symbol P&ID